Outdoor learning เรื่องสาหร่ายหางกระรอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydrilla verticillata (L.f.) Royle
ชื่อวงศ์ : HYDROCHARITACEA
ชื่อสามัญ : Hydrilla
ชื่อพื้นเมืองและอื่นๆ : สาหร่ายหางกระรอก,ผักขี้เต่า
สาหร่ายหางกระรอก
สาหร่ายหางกระรอก เป็นพรรณไม้น้ำพื้นเมืองของไทย มักพบในน้ำที่มีแสงสว่างส่องถึง น้ำค่อนข้างใส ความลึกน้ำ 0.6-1 เมตร ลักษณะพื้นเป็นดินโคลนหรือโคลนปนทราย มีลำต้นเป็นสายเรียวยาว ทอดไปตามความสูงของระดับน้ำ อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ทั้งใบและต้นจมใต้น้ำ ลักษณะของใบเป็นแผ่นบางเรียวยาวขนาดเล็กติดบนลำต้นเป็นชั้นๆ ชั้นละ 2-8 ใบ ใบยาว 10-20 มิลลิเมตร กว้าง 2-5 มิลลิเมตร มีสีเขียวแก่ เส้นกลางใบสีแดง ขอบใบหยักเป็นซี่เล็กๆ มีดอกติดอยู่ที่ซอกใบระดับใต้น้ำ เมื่อดอกแก่จึงจะลอยขึ้นมาบานเหนือผิวน้ำ เจริญได้ดีในน้ำที่มี pH 6.0-7.3 อุณหภูมิน้ำ 25-30 องศาเซลเซียส แสงสว่างปานกลางถึงมาก
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะใบ
ลักษณะดอก
เดี่ยวขนาดเล็กแยกเพศ ดอกเพศเมียมีกาบหุ้ม โคนก้านดอกลักษณะเรียวยาวส่งดอกขึ้นมาบานที่ผิวน้ำ ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก สีขาว 3 กลีบ ภายในรังไข่เพียง 1 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียมี 3 ดอกเพศผู้มีกาบหุ้มเช่นกัน ดอกมีขนาดเล็ก ก้านดอกสั้นเมื่อดอกแก่จะหลุดลอยขึ้นไปบานที่ผิวกลีบเลี้ยง 3 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ จะบานกางกระดกกลีบลงล่าง เกสรเพศผู้ 3 อัน ชูเหนือน้ำ อับเกสรเพศผู้ 4 ช่อง เมื่อแก่แตกออก ละอองเกสรจะปลิวฟุ้งกระจายไปตามลม เกิดการผสมเกสรระหว่างดอกเพศเมียที่ผิวน้ำ
การขยายพันธุ์
มีหลายวิธี แต่ที่พบมากในเมืองไทย ได้แก่
วิธีที่ 1 คือการหลุดขาดของส่วนยอดของลำต้นและงอกเป็นต้นใหม่
วิธีที่ 2 คือการหลุดขาดของลำต้นซึ่งสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้
วิธีที่ 3 คือ หัวใต้ดินของสาหร่ายหางกระรอก ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสะสมอาหาร เมื่ออยู่ในสภาพแห้งแล้งหรือโดนสารเคมี และจะงอกเป็นต้นใหม่ได้เมื่อสภาพเหมาะสม เนื่องจากการแพร่กระจายของสาหร่ายหางกระรอก เป็นไปได้อย่างง่ายดาย และการควบคุมก็ลำบากเนื่องจากสาหร่ายหางกระรอกมีการลงหัว
แหล่งที่พบ
ทวีปยุตั้งแต่โรป แอฟริกา และเอเชีย พบตามบริเวณแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น หนอง บึง หรือในนาข้าว หรือบริเวณที่น้ำขังและไหลไม่แรงนัก จากใกล้ระดับน้ำทะเล ถึง 2,000 เมตร ออกดอกเดือนธันวาคม – มกราคม
ประโยชน์
1.สามารถนำมาทำปุ๋ยได้และทำน้ำหมักชีวภาพ
2.นิยมใช้เป็นไม้ประดับอ่างน้ำหรือตู้ปลา
3.ใช้บำบัดน้ำเสีย
4.ใช้เป็นอาหารสัตว์
5.เป็นตัวชี้วัดว่าน้ำบริเวณนั้นยังสะอาด,ทำน้ำหมักชีวภาพ
การสอนแบบOutdoor learning เรื่องสาหร่ายหางกระรอก
ลักษณะการเรียนการสอนแบบ Outdoor learning
เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนโดยออกแบบกิจกรรมให้มีลักษณะของห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 คือ มีการบูรณาการเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล มีการทำงานร่วมกันในการออกแบบมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานฝีมือซึ่งก็คือmind map และที่สำคัญคือครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกไม่ใช่สอนหนังสือเพียงอย่างเดียวรวมไปถึงมีรูปแบบการประเมินที่โปร่งใส
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น